วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุป

หลักการและแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนร่วมสมัย
หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง (Direct Instruction)
การจัดการเรียนการสอนทางตรงแบบใช้ผลการวิจัย มีองค์ประกอบสำคัญ 6ประการ
1.ครูเป็นศูนย์กลาง (teacher centrality) ครูคอยควบคุมกำกับทิศทางของการเรียนการสอน
2.เป้าหมาย (task orientation) เน้นการเรียนวิชาการ หรือเนื้อหาสาระ เป็นข้อมูลความรู้และข้อเท็จจริง
3.ความคาดหวังในทางบวก(positive expectation)ผู้สอนมีการคาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะประสบผลสำเร็จในการเรียน
4.ความร่วมมือของผู้เรียนที่สามารถวัดประเมินได้(student cooperation and accountability)
5.บรรยากาศที่ปลอดภัย(nonegative affect)ผู้เรียนอยู่ในบรรยากาศที่เป็นมิตร เป็นกันเอง
6.มีกฎ ระเบียบ(esteblished structure)ผู้สอนคอยติดตามดูแลการปฎิบัติของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด
การจัดการเรียนการสอนทางตรงแบบใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ มี 2 รูปแบบดังนี้
1.รูปแบบ “The Mastery Teaching Program”เป็นการสอนเพื่อการรู้จริง ที่พัฒนาโดยฮันเตอร์(Hunter) ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญดังนี้
(1.)ขั้นเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
(2.)ขั้นการให้ข้อมูลและการแสดงตัวแบบ
(3.)ขั้นตรวจสอบความเข้าใจและให้คำแนะนำ
(4.)ขั้นให้ผู้เรียนปฎิบัติตามคำแนะนำ
2.รูปแบบ“DISTAR”หรือ ระบบการสอนทางตรงเพื่อการเรียนรู้และการสอน พัฒนาโดย บีไรเทอร์-อิงเกิลแมน(Bereiter-Englemann)โปรแกรมนี้ได้รับการจัดโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเสียส่วนใหญ่ มีโครงสร้างที่รัดกุมและรายละเอียดที่ชัดเจน ผู้สอนจะต้องดำเนินการทุกอย่างตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ หากทำตามสิ่งที่กำหนดไว้ในโปรแกรมจะประสบความสำเร็จในการสอน
หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(Student-Centered Instruction)
แบบเน้นตัวผู้เรียน
1.การจัดการเรียนการสอนตามอัตภาพ(Individualized Instruction) เป็นการจัดสภาพการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล โดยคำนึงภูมิหลังและสติปัญญา ความสามารถ ความถนัด ความสนใจและความต้องการของแต่ละคนด้วย ผู้สอนไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยผู้เรียนและทดสอบผู้เรียนก่อนเรียน
2.จัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนนำตนเอง (Self-Directed Learning) เป็นการให้โอกาสผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งครอบคลุมวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ของตน การตั้งวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการเรียนรู้ การเลือกวิธีการเรียนรู้การแสวงแหล่งความรู้ โดยครูอยู่ในฐานะกัลยาณมิตร ทำหน้าที่กระตุ้นและให้คำปรึกษาผู้เรียนในการวินิจฉัยความต้องการกำหนดวัตถุประสงค์ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น

แบบเน้นความรู้ ความสามรถ
                1.การจัดการเรียนรู้แบบรู้จริง(Mastery Learning ) เป็นกระบวนการในการดำเนินการให้ผุ้เรียนทุกคน ซึ่งมีความสามารถและสติปัญญาที่ต่างกัน สามารถเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง โดยมีการประเมินผลว่าผู้เรียนรู้จริงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดจึงจะสามารถไปเรียนตามวัตถุประสงค์อื่นได้ หากว่าผู้เรียนยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ผู้สอนต้องหาวิธีการ มาช่วยจนผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
                2.การจัดการเรียนการสอนแบบรับประกันผล (Verification Teaching)เป็นการจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์ โดยผู้เรียนรับรู้มาก่อนว่าจะมีการทดสอบตามวัตถุประสงค์นั้น จากผลการทดสอบ หากผู้เรียนยังไม่เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ผู้สอนจะต้องดำเนินการสอนซ้ำให้แก่ผู้เรียน และทำการทดสอบใหม่จนกระทั่งผู้เรียนทุกคน เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด และวัตถุประสงค์ที่กำหนดนั้นต้องเหมาะสมและเป็นไปได้สำหรับผู้เรียน
3. .การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นมโนทัศน์ (Concept-Based Instruction)เป็นการวางแผนการจัดการเรียนการสอนโดยการระบุมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับและดำเนินการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการและกระบวนการต่างๆที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจมโนทัศน์ และสามารถนำมโนทัศน์นั้นไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆได้ รวมทั้งมีการประเมินผลโดยมุ่งไปที่ความเข้าใจของผู้เรียนในมโนทัศน์นั้นๆ

แบบเน้นประสบการณ์
                1.การจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ (Experiential Learning)เป็นการดำเนินการเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายโดยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ก่อน และให้ผู้เรียนสังเกต ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นและนำสิ่งนั้นมาพิจารณาไตร่ตรองจนเกิดความคิดรวบยอดหรือสมมติฐาน แล้วนำไปทดลองหรือประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ต่อไปได้
2.การจัดการเรียนรู้โดยรับใช้สังคม (Service Learning) เป็นการดำเนินการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการให้ผู้เรียนเข้าไปมีประสบการณ์ในการรับใช้สังคม ทั้งนี้ผู้เรียนจะต้องมีการสำรวจความต้องการของชุมชนที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียน และวางแผนการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆลงมือปฎิบัติการรับใช้สังคมตามแผน และนำประสบการณ์ทั้งหลายมาคิดพิจารณา ไตร่ตรอง จนกระทั่งเกิดความคิดรวบยอด
3.การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning)เป็นการดำเนินการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการให้ผู้เรียนเข้าไปเผชิญสภาพการณ์จริง ปัญหาจริง ในบริบทจริง และร่วมกันศึกษาการเรียนรู้ แสวงหาความรู้ ข้อมูล และวิธีการต่างๆเพื่อที่จะแก้ไขปัญหานั้น และได้รับผลการประเมินตามมาตรฐานคุณภาพในชีวิตจริง

แบบเน้นปัญหา
1.การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Instruction)เป็นการจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย โดยผู้สอนอาจนำผู้เรียนไปเผชิญกับสถานการณ์จริง หรือผู้สอนอาจจัดสภาพการณ์ให้ผู้เรียนเผชิญปัญหา และฝึกกระบวนการวิเคราะห์ และแก้ปัญหาร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเข้าใจในปัญหานั้นอย่างชัดเจน ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการใฝ่รู้ เกิดทักษะกระบวนการคิด และกระบวนการแก้ปัญหาต่างๆ
2.การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นหลัก (Project-Based Instruction) เป็นการจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้ร่วมกันเลือกทำโครงการที่ตนสนใจโดยร่วมกันสำรวจ สังเกต และกำหนดเรื่องที่ตนสนใจ วางแผนในการทำโครงการร่วมกัน ศึกษาข้อมูลความรู้ที่จำเป็น และลงมือปฎิบัติงานตามแผนที่วางไว้ และสรุปผลการเรียนรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ทั้งหมด


ทิศนา  แขมมณี.2554.ศาสตร์การสอน:กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย